สถานศึกษา/ปีการศึกษา

ปีการศึกษา
2567
ภาคเรียน
ภาคเรียนที่ 1
สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านพุเลียบ

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

รหัสวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการศึกษา
1071020013670001
ชื่อวิธีปฏิบัติ
เค้กกระป๋อง “CANNED CAKE”
ประเภทวิธีปฏิบัติ
นวัตกรรม
ระดับการศึกษาที่นำไปใช้
มัธยมศึกษาตอนต้น
แหล่งนวัตกรรม
-
วันที่เผยแพร่
16 มิ.ย. 2566
การเผยแพร่ที่ได้รับการยอมรับ
มีผู้มาศึกษาดูงานหรือได้รับเชิญเป็นวิทยากร
ลิงก์เอกสารแนบ

บทคัดย่อ

  • โรงเรียนบ้านพุเลียบ ได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ภายใต้โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning ผ่านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในโครงการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาต่างๆ โดยมีแผนการดำเนินการขับเคลื่อน Active Learning โดยเน้นทักษะอาชีพ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบด้าน ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีการประเมินอย่างหลากหลาย ทั้งด้านความรู้ ทักษะต่างๆ มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑
  • โรงเรียนมีบ้านพุเลียบ ได้มีการจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างประสบการณ์ผ่านแหล่งการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เพื่อสร้างทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีแนวทางการประกอบอาชีพที่สุจริตตามที่ตนเองสนใจ ตอบสนองต่อตลาดแรงงานในปัจจุบัน
  • จากการวิเคราะห์บริบทและการสำรวจความพร้อมของโรงเรียนบ้านพุเลียบ พบว่าโรงเรียนมีความพร้อมทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงบุคลากร อีกทั้งวิทยากรผู้ให้ความรู้ จึงได้นำมาต่อยอด เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยได้เลือกการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การทำเบเกอรี โดยออกมาในรูปของขนมเค้ก ขนมปัง และเครื่องดื่มโดยใช้รูปแบบร้านกาแฟที่มีความทันสมัย พร้อมทั้งได้มีการจัดตกแต่ง โดยผู้เรียนสามารถใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด วัตถุดิบที่นำมาใช้ เช่น มะพร้าว ลูกหม่อน ชาใบหม่อน ใบเตย อัญชัน เป็นต้น ได้นำมาประยุกต์ใช้ในผลงาน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้นำไปสู่การปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมอย่าง มีคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง ทำให้ผู้เรียนทุกระดับชั้น ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะทางด้านอาชีพ ได้เล็งเห็นเส้นทางเลือกในการศึกษาต่อสายอาชีพในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา หรือการประกอบอาชีพของตนเองได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย

ประโยชน์ของนวัตกรรม

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๗๓ คน ได้นำเข้าร่วมกิจกรรม CHECK IN MESUK BAKERY & CAFE นำสู่ทักษะอาชีพ มีผลลัพธ์ตรงตามเป้าหมายสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ ๘๐
  • เป้าหมายเชิงคุณภาพ
  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ มีความรู้และคุณธรรม ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานโดยการส่งเสริมทักษะอาชีพที่สุจริต เพื่อประสบการณ์ สร้างรายได้ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากวัตถุดิบในท้องถิ่น

คำค้นหา

MESUK PLUS

ไม่พบข้อมูล